นักศึกษามหาวิทยาลัยในอเมริกาส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศสำเร็จเป็นครั้งแรก
โดยปกติแล้วการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศมักเริ่มต้นด้วยหน่วยงานของรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนนักศึกษาจากห้องทดลอง USC Rocket Propulsion Laboratory มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดชื่อว่า Traveler IV และสามารถส่งขึ้นสู่อวกาศ กลายเป็นจรวดลำแรกของโลกที่พัฒนาโดยนักศึกษา 100% ที่สามารถเดินทางขึ้นสู่อวกาศ
จรวด Traveler IV
จรวด Traveler IV มีลักษณะเป็นจรวดขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 4 เมตรความว่าเชื้อเพลิงของจรวดใช้เชื้อเพลิงแข็ง การปล่อยจรวดใช้แท่นปล่อยจรวดบริเวณใกล้กับ Spaceport America ฐานปล่อยเครื่องบินและยานอวกาศกลางทะเลทรายรัฐนิวเม็กซิโก หลังจากปล่อยตัวจรวด Traveler IV ทะยานด้วยความเร็วสูงสุด 6,180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไฮเปอร์โซนิก 5 เท่าของความเร็วเสียงขึ้นสู่ระดับความสูงเหนือเส้น Karman Line หรือระดับความสูงมากกว่า 100 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
การทดสอบจรวดทั้งหมดใช้เวลา 11 นาที จรวด Traveler IV ตกลงสู่พื้นห่างจากจุดปล่อยจรวดประมาณ 19 กิโลเมตร ร่มชูชีพของจรวดกาง แม้สภาพภายนอกของจรวดถูกเผาไหม้แต่ทีมงานนักศึกษาก็สามารถเก็บกู้อุปกรณ์บันทึกภาษาได้เพื่อเปิดเผยวินาทีที่จรวดเข้าสู่พรมแดนอวกาศ ก่อนหน้านี้ในการทดสอบจรวด Traveler I , Traveler II และ Traveler III จรวดเกิดการระเบิดขณะทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศ
ห้องทดลอง USC Rocket Propulsion Laboratory
นักศึกษาจากห้องทดลอง USC Rocket Propulsion Laboratory มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย รวมตัวกันครั้งแรกในปี ค.ศ. 2005 เพื่อพัฒนาจรวดที่สามารถเดินทางขึ้นสู่อวกาศ นักศึกษาที่เข้าร่วมประกอบมาจากทุกสาขาในคณะวิศวกรรมแบ่งแยกตามหน้าที่รับผิดชอบตามความถนัดเช่น โครงสร้างคอมโพสิต ระบบขับเคลื่อนจรวด ระบบป้องกันความร้อน ระบบการบอกตำแหน่งและเก็บกู้จรวด นอกความสำเร็จของการพัฒนาจรวด Traveler IV นักศึกษายังพัฒนาจรวดรุ่นอื่น ๆ อีกกว่า 7 รุ่นด้วยกัน
อวกาศยุคใหม่มหาวิทยาลัยไทยต้องตื่นตัว
อวกาศยุคใหม่เริ่มต้นมาได้ระยะหนึ่งแล้วเป็นยุคใหม่ของการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศที่เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล ในหลายประเทศพยายามผลักดันเรื่องนี้เนื่องจากการแข่งขันด้านอวกาศนำไปสู่การเข้าถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง หากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยต้องการเข้าร่วมกับในอวกาศยุคใหม่อาจเริ่มต้นด้วยการสร้างพันธมิตรแบ่งปันข้อมูลกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคคลากรที่มีคุณภาพและต่อยอดเป็นเทคโนโลยีด้านอวกาศ ประเทศไทยกำลังรอจรวดลำแรกที่พัฒนาโดยนักศึกษาไทยอยู่
อ่านเพิ่มเติม : ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมขนาดเล็กพัฒนาโดยคนไทย
คลิปวิดีโอการปล่อยจรวด TRAVELER IV
ที่มาของข้อมูล
A USC team won the collegiate space race by sending a rocket above the Kármán line
TRAVELER IV
First Student-Designed Rocket Reaches Outer Space