Rosetta โครงการสำรวจดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko โดยองค์การอวกาศยุโรป

Rosetta คือ โครงการสำรวจดาวหางชื่อ 67P/Churyumov-Gerasimenko โดยองค์การอวกาศยุโรประยะเวลาตลอดโครงการ 12 ปี มีภาระกิจสำคัญในการสำรวจดาวหางโดยการใช้หุ่นยนต์ลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์จะสามารถส่งหุ่นยนตร์สำรวจลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง

โครงการ Rosetta เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนปี 1993 ช่วงต้นของโครงการนั้นเป้าหมายของการสำรวจนั้นคือ ส่งหุ่นยนต์ลงจอดบนพื้นผิวของดาวหาง 46P/Wirtanen และการเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยอีก 2 ดวง ชื่อ Otawara และ Siwa ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเป้าหมายการลงจอดของหุ่นยนต์เป็นดาวหางชื่อ 67P/Churyumov-Gerasimenko และโครจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย Steins และ Lutertia เนื่องด้วยเหตุผลด้านวงโครจรและระยะเวลาของโครงการ

องค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ (อังกฤษ: European Space Agency; ESA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1975 เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในยุโรป มีเป้าหมายเพื่อการสำรวจอวกาศ ปัจจุบันมีสมาชิก 17 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีสถานที่ปล่อยยานตั้งอยู่ที่ศูนย์อวกาศไกยานา (Guiana Space Centre) ที่เมือง Kourou ประเทศฝรั่งเศส และมีศูนย์ปฏิบัติภาระกิจทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์สังเกตการณ์ ศูนย์ฝึกนักบินอวกาศตั้งกระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วยุโรป

Rosetta มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนด้วยกัน

1. จรวดพลักดัน ทำหน้าที่ส่งยานสำรวจขึ้นสู่วงโคจรของโลก
2. ยานสำรวจหลัก Rosetta ทำหน้าที่เป็นยานสำรวจหลักและใช้ติดต่อสื่อสารกับศูนย์อวกาศบนโลก
3. หุ่นยนต์สำรวจ Philae ทำหน้าที่ลงจอดบนดาวหางและทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์

เป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ของโครงการ Rosetta

เป้าหมายหลักของปฏิบัติการโรเซตต้าคือการศึกษากำเนิดของดาวหางทั้งหลาย,ความสัมพันธ์ระหว่างสสารที่ประกอบเป็นดาวหาง (cometary material) กับสสารที่อยู่ในอวกาศ (interstellar material) และสิ่งเหล่านี้ยังต่อเนื่องไปถึงกำเนิดของระบบสุริยะ การตรวจวัดค่าต่างๆทางวิทยาศาสตร์จะทำดังนี้ ( ข้อมูลจาก Darasart.com )

  • คุณลักษณะโดยรวมของนิวเคลียส, การวัดคุณสมบัติไดนามิคส์, สัณฐานของพื้นผิวและองค์ประกอบ
  • การวัดองค์ประกอบทางเคมี แร่ธาตุและไอโซโทปของสารที่ระเหยได้และ refractories ของนิวเคลียสดาวหาง
  • การวัดคุณสมบัติทางกายภาพและความสัมพันธ์ระหว่างสารที่ระเหยได้กับ refractories ในนิวเคลียสดาวหาง
  • การศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมของดาวหางและกระบวนในชั้นพื้นผิวของนิวเคลียสและโคม่าภายใน(ปฏิกริยาระหว่างฝุ่นและก๊าซ)
  • คุณลักษณะโดยรวมของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งรวมถึงการวัดคุณสมบัติไดนามิคส์ สัณฐานพื้นผิว และองค์ประกอบ

ดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko

67P/Churyumov-Gerasimenko ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1969 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 กิโลเมตร ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 12.7 ชั่วโมง ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 6.55 ปี หรือในทุก ๆ 6.55 ปี ดาวหางดวงนี้ถึงจะสามารถมองเห็นได้จากโลก ดาวหางดวงนี้จะเป็นดวงแรกที่มนุษย์จะส่งหุ่นยนต์ลงไปสำรวจ

กำหนดการของโครงการ Rosetta

  • มีนาคม 2004 Rosetta ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศ
  • ธันวาคม 2006 Rosetta ถ่ายภาพดาวอังคารและทางช้างเผือก
  • พฤศจิกายน 2007 Rosetta ได้ถ่ายภาพโลกในเวลากลางคืนและภาพดวงจันทร์
  • 27 กุมภาพันธ์ 2007 Rosetta เดินทางถึงดาวอังคารส่งภาพดาวอังคารในระยะใกล้กลับมายังโลก
  • 5 กันยายน 2008 Rosetta โคจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย Steins
  • 10 กรกฏาคม 2010 Rosetta โคจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย Lutertia
  • มีนาคม 2011 Rosettan ถ่ายภาพดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ส่งกลับมายังโลก (มองเห็นเป้าหมายการลงจอด)
  • 20 มกราคม 2014 เวลา 10.00 UTC ระบบการทำงานหลักของ Rosetta ถูกปลุกให้ทำงานหลังจากเดินทางนานเกือบ 10 ปี

สัญญาณแรกจาก Rosetta หลังจากเดินทางเกือบ 10 ปี

เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาระบบภายในตัวยานสำรวจ Rosetta ได้ถูกปลุกให้ทำงานหลังจากผ่านการเดินทางในอวกาศมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ระบบทำความร้อนในตัวยานได้เริ่มทำงานอีกครั้งโดยอัติโนมัติเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ตัวยาน เนื่องจากในอวกาศนั้นอุณหภูมิที่หนาวเย็นแช่เเข็ง ยานสำรวจ Rosetta ได้ส่งข้อความทักทายมายังชาวโลกผ่านทาง twitter ของโครงการตามลิงค์ด้านล่างนี้

ภาพความดีใจของทีมงานหลังได้รับสัญญาณแรกจาก Rosetta

Rosetta-Wakes-Up-ESOC-625

ภาระกิจสำคัญของ Rosetta ในปี 2014

ในตอนนี้ยานสำรวจ Rosetta อยู่ห่างจากโลก 800 ล้านกิโลเมตรและอยู่ห่างจากดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ประมาณ 5 ล้านกิโลเมตรโดยมีกำหนดการส่งหุ่นยนต์สำรวจ Philae ลงจอดบนดาวหางดวงนี้ประมาณเดือนสิงหาคม 2014 นี้ หลังจากการลงจอดจะมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ประมาณ 10 อย่างด้วยกันและจะทำการเจาะลงไปใต้พื้นผิวดาวหางลึกประมาณ 20 เซนติเมตรอีกด้วย

คลิปอธิบายวงโคจรทั้งหมดของยานสำรวจอวกาศ Rosetta

ภาพจำลองวงโครจรของ rosetta ขณะเข้าหาดาวหาง

ภาพจำลองหุ่นยนต์ Philae ลงจอดบนพื้นผิวดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko

ที่มาของข้อมูล
European Space Agency, Wikipedia.org, Darasart.com, Cometography.com

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation