ยาน Opportunity Rover ปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารทะลุ 5,000 วัน
ยาน Opportunity ปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารครบ 5,000 วันเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยาน Opportunity เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจดาวอังคารของนาซ่า ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2003 โดยจรวด Delta ll จากแหลมคะแนเวอรัล เดินทางถึงดาวอังคารเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2004 รถสำรวจลงจอดบนผิวดาวอังคารใกล้บริเวณแอ่งบนดาวอังคารชื่อ Endeavour และเคลื่อนที่สำรวจไปยังบริเวณปากปล่องภูเขาไฟลูกนี้ ปัจจุบันรถสำรวจเคลื่อนที่ได้ระยะทางรวมกันกว่า 43 กิโลเมตร
อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกติดตั้งไว้บนรถสำรวจ Opportunity Rover
- กล้อง Panoramic (Pancam)
- กล้องจุลทรรศน์ Imager (MI)
- เครื่องวัดความร้อนแบบ Miniature Thermal Emission Spectrometer (Mini-TES)
- อัลฟาพอยน์เตอร์เอ็กซ์เรย์สเปกโตรมิเตอร์ (APXS)
- เครื่องมือขูดชั้นหิน (RAT)
- กล้องนำทาง (Navcams)
เป้าหมายของภารกิจสำรวจดาวอังคารของรถสำรวจ Opportunity Rover
- สำรวจค้นหากิจกรรมทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะที่เกิดจากการกระทำของน้ำ
- ตรวจสอบองค์ประกอบแร่ธาตุหินรอบ ๆ พื้นที่ลงจอด
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพื้นผิวดาวอังคารที่ได้จากดาวเทียมสำรวจ Mars Reconnaissance Orbiter
- ค้นหาแร่ธาตุเหล็กหาจำนวนปริมาณแร่ธาตุ น้ำ คาร์บอเนต
- ประเมินว่าสภาพแวดล้อมของดาวอังคารว่าเอื้อต่อการดำเนินชีวิตหรือไม่
ยาน Opportunity มีรถสำรวจฝาแฝดชื่อ Spirit ที่ลงจอดบนดาวอังคารก่อนหน้ายาน Opportunity จะลงจอดประมาณ 1 อาทิตย์ อย่างไรก็ตามในปี 2010 ยาน Spirit ได้รับความเสียหายจากพายุทรายบนดาวอังคารและไม่ส่งข้อมูลกลับมายังโลกอีกเลย ส่วนยาน Opportunity ยังปฏิบัติภารกิจต่อจนถึงต้นปี 2019 นาซ่ายืนยันการยกเลิกภารกิจยาน Opportunity อย่างเป็นทางการหลังขาดการติดต่อกับยานหลายเดือน อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาทำภารกิจ 15 ปี ยาน Opportunity ถ่ายภาพผิวดาวอังคารไปกว่า 225,000 ภาพส่งกลับมายังโลก
ที่มาของข้อมูล
jpl.nasa.gov