สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway)

สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway) ก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศหลังจากมนุษย์กลุ่มสุดท้ายเดินทางไปดวงจันทร์เมื่อเกือบ 50 ปี การกลับไปดวงจันทร์ครั้งนี้นอกจากส่งมนุษย์ลงไปสำรวจผิวดวงจันทร์นาซ่ายังวางแผนการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อใช้เป็นฐานและจุดแวะของนักบินอวกาศที่จะเดินทางไปดาวดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต

ในระหว่างการประชุมกันของคณะกรรมการนานาชาติในวาระที่ครบรอบ 20 ปีของการเปิดตัวสถานีอวกาศนานาชาติ นาซ่าได้เปิดเผยแนวคิดการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์โดยใช้วิธีการร่วมมือกันก่อสร้างจากหลายประเทศโดยมีนาซ่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโครงการ ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องงบประมาณและเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีอวกาศไปพร้อมกัน

โมดูลของสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์

การก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ถูกสร้างโดยความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สภาพยุโรปและรัสเซีย การก่อสร้างทำโดยการนำโมดูลต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันคล้ายสถานอวกาศนานาชาติ ISS แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • โมดูลพลังงานและแรงขับดัน (Power and Propulsion Element) ทำหน้าที่สร้างแรงขับดันให้กับสถานีอวกาศ นาซ่าจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • โมดูล (ESPRIT) ทำหน้าที่จัดเก็บเชื้อเพลิง ผลิตพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับสถานอวกาศรวมไปถึงระบบการติดต่อสื่อสาร องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • โมดูลใช้อยู่อาศัยขนาดเล็ก (Utilization Module) ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศแต่มีขนาดเล็กกว่าโมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก
  • โมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก (Habitation Module) แยกออกเป็น 2 โมดูล คือ โมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) องค์การอวกาศญี่ปุ่นหรือ JAXA และ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้ ส่วนอีกโมดูลนั้น คือ (U.S. Habitation Module) นาซ่าจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • โมดูลเชื่อมต่อ (Multi-Purpose Module) ทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่ายานอวกาศ องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียหรือ ROSCOSMOS จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • โมดูลขนส่งทรัพยากร (Logistics Resupply) ทำหน้าที่ขนส่งทรัพยากรสำหรับยังชีพให้นักบินอวกาศและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งไปจากโลกและเข้าเชื่อมต่อกับโมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) นาซ่าและ JAXA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • แขนหุ่นยนต์ (Robotics) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายยานอวกาศที่เข้าเทียบท่าสถานีอวกาศหรือก่อสร้างตัวสถานีอวกาศ องค์การอวกาศแคนาดาหรือ CSA ASC จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
  • ยานขนส่งอวกาศ (Orion Crew Module) ยานที่จะมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์และส่งมนุษย์เดินทางลงไปสำรวจดวงจันทร์
  • ยานบริการ (Orion Service Module) ทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนและให้พลังงานกับยาน Orion ขณะเดินทางไปกลับระหว่างสถานีอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์และโลก ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้

คลิปอธิบายแนวคิดการก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์

อย่างไรก็ตามแนวคิดการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway) ยังคงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกระยะหนึ่งเนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายประเทศ โดยนาซ่าให้ความสำคัญกับงบประมาณในการก่อสร้างที่จะต้องไม่สูงจนเกินไปในขณะเดียวกันตัวสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์จะต้องมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากตำแหน่งอยู่ห่างจากโลก ในตอนนี้มีเพียงองค์การอวกาศแคนาดาหรือ CSA เท่านั้นที่ตอบรับข้อเสนอของนาซ่า

ที่มาของข้อมูล

Multilateral Coordination Board Joint Statement
NASA Secures First International Partnership for Moon to Mars Lunar Gateway

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation