จรวดเชื้อเพลิงเหลวแบบแรกของโลก ( Liquid-propellant rocket )
ศาสตราจารย์โรเบิร์ตเอช ก๊อดดาร์ด (Robert H. Goddard) ผู้พัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลวแบบแรกของโลก โดยใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเหลว (liquid oxygen) และน้ำมันเบนซิน (gasoline) จรวดรุ่นแรกนี้มีชื่อว่า “Nell” หลังจุดระเบิดเครื่องยนต์ทำงานได้ 2.5 วินาทีสามารถขึ้นไปบนอากาศสูงเพียง 41 ฟุต สถานที่ทดสอบบริเวณชายฝั่งนิวอิงแลนด์ สหรัฐอเมริกา แนวคิดจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวมีขึ้นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ Konstantin Tsiolkovsky ความจริงเขามีอาชีพเป็นครูในโรงเรียน โดยตีพิมพ์งานเขียนครั้งแรกเมื่อปี 1903 แต่ไม่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียมากนัก
การทดสอบจรวดเชื้อเพลิงเหลวครั้งแรก
การใช้งานจรวดเชื้อเพลิงเหลวครั้งแรก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์เยอรมันชื่อ Wernher von Braun ได้พัฒนาจรวดโจมตีให้กับกองทัพนาซีเยอรมันชื่อจรวด V2 สามารถยิงโจมตีอังกฤษได้จากระยะไกล ช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 Wernher von Braun ถูกจับกุมโดยกองทัพอเมริกาและสมัครใจเดินทางไปใช้ชีวิตที่อเมริกา Wernher von Braun มีส่วนสำคัญในการพัฒนาจรวด Saturn ให้อเมริกาเพื่อส่งมนุษย์คนแรกไปดวงจันทร์
จรวดประเภทต่าง ๆ
การแบ่งประเภทของจรวดสามารถแบ่งตามลักษณะของการใช้เชื้อเพลิงแบบแรกคือ จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ดินระเบิด มีข้อดีตรงที่สามารถผลิตได้ง่ายมีต้นกำเนิดมาจากจรวดยุคโบราณแต่มีข้อจำกัดด้านการใช้งานและการควบคุมจรวด จรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวเป็นรูปแบบของจรวดที่ใช้วิธีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเหลวและออกซิเจนมีข้อดีคือสามารถควบคุมปริมาณการเผาไหม้ได้จรวดชนิดนี้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จรวดไอออนเป็นจรวดรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้พลังงานไฟฟ้ายิงอิเล็กตรอนเข้าใส่อะตอมของแก๊สทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนมีข้อเสียคือสร้างแรงขับเคลื่อนต่ำแต่สามารถใช้งานได้นานโดยเฉพาะในอวกาศ
ที่มาของข้อมูล
en.wikipedia.org