นาซ่าประสบความสำเร็จในการทดสอบต้นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower
นาซ่าประสบความสำเร็จในการทดสอบต้นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower สำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานในการสำรวจอวกาศหรือการตั้งสถานีวิจัย อาณานิยมคมบนดวงจันทร์และดาวอังคาร โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนาซ่ากับสำนักงานบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติของกระทรวงพลังงาน (NNSA)
ต้นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower
นาซ่าเปิดเผยความสำเร็จในการทดสอบต้นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในศูนย์วิจัย Glenn Research Center เมื่อวันพุธที่ผ่านมา การทดสอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Stirling Technology (KRUSTY) การทดสอบมีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 โดยอาศัยปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission) ใช้แกนปฏิกรณ์ยูเรเนียม -235 สร้างพลังงานความร้อนที่เกิดจากการแตกตัวของยูเรเนียมยูเรเนียม -235 สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ 10 กิโลวัตต์ทำงานต่อเนื่องในอวกาศได้นาน 10 ปี มีความทนทานสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายในอวกาศ
Jim Reuter ผู้บริหารของนาซ่ากล่าวเพิ่มเติมว่า “การใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพอาจเป็นเครื่องมือสร้างพลังงานสำคัญให้กับหุ่นยนต์สำรวจอวกาศรวมไปถึงการสร้างพลังงานให้กับสถานีสำรวจบนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร”
คลิปอธิบายการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Kilopower
โครงการ Kilopower มีกำหนดการทดสอบนำไปใช้งานจริงบนอวกาศในปี 2020 ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานหลักในการสำหรับยานอวกาศในอนาคตที่จะสามารถทำภารกิจบนอวกาศได้ยาวนานมากขึ้น ปัจจุบันยานอวกาศของนาซ่าใช้พลังงานจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์รวมกับเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดไอโซโทปรังสีกัมมันตภาพรังสีแบบมัลติมิเตอร์ (MMRTG)ใช้ความร้อนที่เกิดจากการสลายตัวของพลูโตเนียม -238 แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับปฏิบัติภารกิจบนอวกาศเป็นเวลานานได้
ที่มาของข้อมูล
nasa.gov