ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเดินทางไปดูระบบขนส่ง Hyperloop ที่สหรัฐอเมริกา

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาดูงานระบบขนส่ง Hyperloop โดยได้เข้าพบตัวแทนจากบริษัทที่กำลังพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop ทั้งหมด 3 แห่งในประเทศอเมริกาและได้เข้าเยี่ยมชมฐานการวิจัยพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop ของบริษัท Virgin Hyperloop One เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบขนส่ง Hyperloop มาใช้ในประเทศไทย

ระบบขนส่ง Hyperloop คืออะไร

ระบบขนส่ง Hyperloop เทคโนโลยีการขนส่งที่จะกลายเป็นระบบมาตรฐานแทนระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงซึ่งมีความเร็วน้อยกว่าระบบ Hyperloop ประมาณ 3 เท่า โดยตามแผนการวิจัยพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop สามารถทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเร็วกว่าเครื่องบินขนส่งโดยสารทุกชนิดและหากมีการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมระบบขนส่ง Hyperloop อาจสามารถทำความเร็วได้มากขึ้นในอนาคต

ระบบขนส่ง Hyperloop คือ การนำแนวคิดแม่เหล็กไฟฟ้าขับเคลื่อนแคปซูลห้องโดยสารภายในท่อสุญญากาศ แนวคิดของระบบขนส่ง Hyperloop เกิดขึ้นครั้งแรกในนิยายวิทยาศาสตร์ในปี 1909 และแนวคิดนี้ปรากฏอีกครั้งในปี 1972 บริษัทแห่งหนึ่งชื่อว่า RAND Corp. ที่เสนอแนวคิดก่อสร้างระบบขนส่งแบบความเร็วเหนือเสียงใต้ดินแต่ก็ไม่มีการก่อสร้างเกิดขึ้นจนมาถึงในปี 2013 แนวคิดนี้ถูกนำเสนออีกครั้งโดยอีลอน มัสท์ผู้ตั้งบริษัท SpaceX แต่อย่างไรก็ตามอีลอน มัสท์ก็ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้ก่อตั้งบริษัท Hyperloop One

บริษัท ​Virgin Hyperloop One

บริษัท Virgin ​Hyperloop One มีชื่อเดิมว่าบริษัท Hyperloop One ก่อนจะมีกลุ่มบริษัท Virgin เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนทำให้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Virgin ​Hyperloop One บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2014 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง คือ Rob Lloyd , Josh Giegel , Shervin Pishevar ปัจจุบันบริษัทมีความก้าวหน้าในการวิจัยพัฒนาระบบ Hyperloop อย่างมากโดยสร้างศูนย์วิจัยพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop กลางทะเลทรายเนวาดา

อย่างไรก็ตามคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจยังไม่เปิดเผยรายชื่อบริษัทพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop อีก 2 แห่งที่เขาจะเข้าไปเยื่อมชมศึกษาดูงานซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นบริษัท The Boring Company ที่มีอีลอน มัสก์เป็นผู้ก่อตั้งส่วนอีกบริษัทอาจจะเป็นบริษัท Hyperloop Transportation Technologies ซึ่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบขนส่ง Hyperloop อยู่ในระดับแนวหน้า

ปัจจุบันมีหลายประเทศให้ความสนใจระบบขนส่ง Hyperloop ที่บริษัทกำลังพัฒนา เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟินแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย อังกฤษ เกาหลีใต้ อังกฤษ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อินเดียและจีน ในอนาคตอันใกล้นี้เชื่อว่าระบบขนส่ง Hyperloop อาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินทางของมนุษย์แทนที่รถไฟฟ้าความเร็วสูง

คลิปแนะนำ Hyperloop โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/2073431772967338/

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเทคโนโลยี Hyperloop ในประเทศไทย

แม้ว่าระบบขนส่ง Hyperloop จะมีความทันสมัยมากที่สุดแต่เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยพัฒนาปัจจุบันยังไม่มีต้นแบบระบบ Hyperloop ของบริษัทไหนสามารถทำความเร็วได้ถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามแนวคิดของเทคโนโลยี Hyperloop ที่เคยถูกนำเสนอโดยอีลอน มัสก์ในปี 2013

ต้นแบบระบบขนส่ง Hyperloop ของบริษัท Virgin ​Hyperloop One ที่คุณธนาธรไปดูงานนั้นสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งยังน้อยกว่าความเร็วสูงสุดของรถไฟความเร็วสูงบางรุ่น ในขณะเดียวกันระบบ Hyperloop ของบริษัท Virgin Hyperloop One ที่จะสร้างและทดสอบวิ่งที่ดูไบนั้นร้องรับผู้โดยสารได้น้อยต่อเที่ยวและน่าจะเหมาะกับบางเส้นทางที่มีความคุ้มค่าทางด้านการลงทน

ต้นแบบระบบขนส่ง Hyperloop ของบริษัท Hyperloop Transportation Technologies ก็ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งกำหนดการทดสอบต้นแบบต้องรอถึงปี 2019-2020 แม้ว่าบริษัทนี้จะเซ็นสัญญาก่อสร้างในประเทศจีนไปแล้วแต่ต้องรอการวิจัยพัฒนาต้นแบบ Hyperloop ของบริษัทที่ฝรั่งเศสก่อน

ส่วนเทคโนโลยี Hyperloop ของบริษัท The Boring Company เป็นระบบใต้ดินคล้ายรถไฟฟ้าใต้ดินแต่เน้นขนส่งผู้โดยสารภายในตัวเมืองไปยังสนามบินและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ครั้งล่ะ 16 คน ปัจจุบันเริ่มก่อสร้างแล้วที่เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบขนส่ง Hyperloop ของบริษัทนี้สามารถขนส่งรถยนต์ไปตามระบบอุโมงค์ใต้ดินแทนการให้รถยนต์วิ่งบนทางด่วน

หากเทียบกันเรื่องความคุ้มค่าระหว่างระบบขนส่ง Hyperloop กับรถไฟความเร็วสูง ระบบขนส่ง Hyperloop มีความคุ้มค่ากว่าแต่มีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นการวิจัยพัฒนาและขีดความสามารถในด้านการขนส่งของระบบ Hyperloop ที่ขนส่งได้น้อยกว่ารถไฟความเร็วสูง อาจยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานในประเทศไทยที่ต้องการระบบขนส่งที่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ครั้งละมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล อีกทั้งยังรวมปัจจัยด้านการลงทุนซึ่งต้องใช้งบประมาณภาษีมหาศาลซึ่งต้องคิดคำนวนความคุ้มค่าอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตามระบบขนส่ง Hyperloop อาจสามารถช่วยเสริมในเส้นทางที่ต้องการความรวดเร็วเป็นพิเศษภายในตัวเมืองหรือระหว่างเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล
Thanathorn Juangroongruangkit

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *