สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวแบบอาคาร Terminal 2 ห้องรับแขกแห่งใหม่ของประเทศไทย
สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2) ซึ่งสนามบินแห่งชาตินี้ถือได้ว่าเป็นห้องรับแขกของประเทศไทยแบบอาคารผู้โดยสารที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผลงานการออกแบบของ ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก หรือ DBALP-NIKKEN SEKKEI ประเทศญี่ปุ่น แรงบัลดาลใจในการออกแบบอาคาร Terminal 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิมาจากต้นไม้ในเขตร้อน
การประกวดแบบก่อสร้างนั้นคะแนนของกลุ่มดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกเข้ามาอยู่ในลำดับที่ 2 แต่ทีมที่มีคะแนนรวมอยู่ในลำดับที่ 1 คือ ทีม SA Group ส่งเอกสารไม่ครบทำให้แพ้ฟาร์วส่งผลให้กรรมการเลือกทีมดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกที่อยู่ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทนที่ทีม SA Group สำหรับผลงานการออกแบบของทีมดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเกออกแบบโดยคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค นักออกแบบชื่อดังชาวไทยที่มีผลงานการออกแบบมีความเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวพบได้ในผลงานการออกแบบที่ผ่าน ๆ มาของเขา
ความสำคัญของสนามบินต่อประเทศ
สนามบินถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าของประเทศควรแสดงออกถึงความมีเอกลักษณะของชนชาติผสมผสานเทคโนโลยีและการออกแบบที่ล้ำสมัยเสมือนหนึ่งห้องรับแขกต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางที่อ่อนล้าและเป็นที่จดจำเมื่อพวกเขาเดินทางถึงจุดหมายในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนจำนวนมหาศาลถือเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญลำดับต้น ๆ มากพอ ๆ กับการลงทุนด้านการศึกษาและสวัสดิการสังคมและมันจะกลายเป็นผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่จะอยู่บนแผ่นดินไทยไปอีกหลายทศวรรษ
ดีไซน์แตกต่างกันได้แต่ควรอยู่ในแนวคิดใกล้เคียงกัน
สนามบินอินชอน (Incheon International Airport ) มีอาคารผู้โดยสารหลัก 2 อาคารแม้ว่าตัวอาคารจะถูกสร้างและเปิดใช้งานห่างกันหลายปีแต่ตัวอาคารผู้โดยสารทั้งหมดของสนามบินยังคงรูปแบบและดูเป็นกลุ่มอาคารผู้โดยสารสนามินเดียวกัน อาคารผู้โดยสารที่ 2 (Terminal 2) เพิ่งเปิดให้บริการในปี 2018 ใช้การออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Bonghwang นกไฟในตำนานของเกาหลีแม้จะถูกสร้างทีหลังแต่ลักษณะของอาคารผู้โดยสารดูมี Design Concept หรือ Theme เดียวกันแม้ในรายละเอียดหรือแรงบัลดาลใจแตกต่างกันก็ตามซึ่งควรเป็นลักษณะของสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่ที่ผู้โดยสารจดจำ
ในแต่ละประเทศเลือกใช้วิธีการสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินแตกต่างกันหลายประเทศเลือกใช้วิธีทะยอยสร้างไปทีละอาคารอาจเพราะเงื่อนไขด้านงบประมาณหรือจำนวนผู้โดยสาร การควบคุม Design Concept หรือ Theme จึงมีความสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้อาคารผู้โดยสารมีรูปแบบที่หลากแปลกประหลาดไปจากกลุ่มอาคารเดิมในขณะเดียวกันตัวอาคารผู้โดยสารที่สร้างใหม่ยังคงความทันสมัยไม่ย้อนยุคไปในอดีตหรือนำเสนอวัฒนธรรมแบบอนุรักดิ์นิยมมากจนเกินไปไม่มีความจำเป็นต้องนำเสนอวัฒนธรรมไทยแบบตรง ๆ แต่อาจใช้การผสมผสานกับเทคโนโลยีความล้ำหน้าเพื่อก้าวไปสู่อนาคตเพราะมันเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างจากเงินภาษีและคงอยู่ไปอีกกว่า 100 ปีหรือมากกว่านั้น
“ภารกิจของนักออกแบบ คือ ปกป้องและสร้างผลงานสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมให้กับประเทศ”
ลักษณะป่าไม้เขตร้อนในประเทศไทย
แรงบัลดาลใจในการออกแบบอาคาร Terminal 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิมาจากต้นไม้ในเขตร้อน ป่าไม้ในประเทศไทยมีความหลากหลายแต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน คือ ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergeen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ภาคใต้ของประเทศไทยมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ต้นไม้มีความสลับซับซ้อนหนาทึบเนื่องจากได้รับความชุ่มชื้นจากอิทธิพลจากน้ำฝนเยอะกว่าภาคอื่น ๆ บริเวณเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ภาคใต้ยังอุดมไปด้วยป่าโกงกางที่เป็นลักษณะเฉพาะตลอดแนวยาวทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าภาคตะวันตกมีลักษณะเป็นป่าดงดิบแล้งเนื่องจากได้รับปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี ภาคเหนือมีลักษณะเป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาสูง ป่าเบญจพรรณ พื้นที่ป่าไม่รกทึบ ภาคอีสานมีลักษณะเป็นที่ราบสีพบป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง ภาคตะวันออกมีลักษณะของป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ผสมป่าชายเลน ได้รับอิทธิพลจากน้ำฝนจากอ่าวไทย
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าพบลักษณะของป่าสน ไม้ยืนเต้นเดี่ยวลำต้นเกลี้ยง ๆ น้อยมากในประเทศไทยอาจพบในบริเวณที่ราบสูงบางแห่งเท่านั้น ในขณะเดียวกันป่าสน ไม้ยืนเต้นเดี่ยวลำต้นเกลี้ยง ๆ พบมากในประเทศเอเชียตะวันออกเช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
สถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมของประเทศในเอเชียมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันแต่อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศก็มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ ธรรมชาติ ชีวิตและความเป็นอยู่ เช่น ประเทศที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเย็นอบอุ่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่นกับประเทศในเขตร้อนชื้นแบบประเทศไทย ต้นไม้ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันส่งผลให้วัสดุก่อสร้างงานและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกัน
ในงาน World Expo 2010 ประเทศจีนได้นำเสนองานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติจีนด้วยการสร้าง China Pavillion เป็นรูปแบบอาคารที่เสมือนถูกสร้างโดยใช้เทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมจีน การเชื่อมต่อไม้ที่มีลักษณะเป็นชายคายาวสลับกันดูแข็งแกร่งและทรงคุณค่าในความเป็นชนชาติจีน ปัจจุบันอาคารลักษณะนี้พบเห็นได้ในประเทศไทย เช่น ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีนใจกลางกรุงเทพมหานคร ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง
การก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) แสดงถึงความงดงามด้านสถาปัตยกรรมของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกสามารถพบลักษณะที่ใกล้เคียงกันในสถาปัตยกรรมอาคารในประเทศญี่ปุ่น งานออกแบบพิพิธภัณฑ์ Yusuhara Wooden Bridge Museum ออกแบบโดย Kengo Kuma and Associates มีความโดดเด่นแสดงถึงเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก อาจกล่าวได้ว่าเทคนิค ‘โตวกง’ (Dougong) เป็นวัฒนธรรมร่วมที่มีความคล้ายคลึงกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ผลงานการออกแบบ Terminal 2 ของคุณดวงฤทธิ์ บุนนาค
ต้นทุนในการก่อสร้างสนามบินแห่งชาติคือ เวลา
ผลงานการออกแบบ Terminal 2 ของคุณดวงฤทธิ์ บุนนาคมีความเป็นเอกลักษณ์แต่อาจยังไม่สามารถตอบโจทย์ถึงความเป็นไทยและมีลักษณะของสถาปัตยกรรมเอเชียตะวันออก ญี่ปุ่น จีนแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของกรรมการซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและระบบการทำงานภายในสนามบิน อย่างไรก็ตามต้นทุนในการก่อสร้างสนามบินมาจากภาษีประชาชนและมีต้นทุนอีกอย่างที่เพิ่มขึ้นทุกวินาทีนั่นคือ เวลา ซึ่งส่งผลต่อค่าเงินและงบประมาณในการก่อสร้างสนามบิน
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
airport.kr, archdaily.com, airport-technology.com, farrells.com, samoo.com, dnp.go.th, China pavilion at Expo 2010, cccbangkok.org, kkaa.co.jp