อีลอน มัสค์ ( Elon Musk ) เปิดตัวจรวดไปดาวอังคารและระบบขนส่งระหว่างดาวเคราะห์ของ SpaceX

อีลอน มัสค์ ( Elon Musk ) ผู้บริหาร SpaceX เปิดตัวระบบขนส่งระหว่างดาวเคราะห์ ( Interplanetary Transport System ) ในงานประชุมวิชาการอวกาศนานาชาติ ( International Astronautical Conference ) ที่ประเทศเม็กซิโก โดยมีเป้าหมายแรกคือการขนส่งมนุษย์ไปดาวอังคารซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่คาดว่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยและตั้งอาณานิคมของมนุษย์ได้ พร้อมทั้งเปิดตัวแผนการสร้างจรวดรุ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก ( BFR หรือ Big Falcon Rocket ) ใหญ่กว่าจรวด ​Saturn V ที่เคยส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์

คลิปอธิบายระบบขนส่งระหว่างดาวเคราะห์ Interplanetary Transport System

ข้อมูลจรวดไปดาวอังคาร ( BFR หรือ Big Falcon Rocket )

BFR หรือ Big Falcon Rocket จรวดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกใหญ่กว่าจรวด ​Saturn V ที่เคยส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ตัวจรวดมีความสูง 122 เมตรจรวดแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ First Stage จรวดผลักดันและ Second Stage ยานอวกาศที่เดินทางไปดาวังคาร ในส่วนของจรวดผลักดันจะใช้เครื่องยนต์จรวดรุ่นใหม่ Raptor Engines ทั้งหมด 42 เครื่อง ตัวจรวดสูง 77.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตร สามารถเดินทางขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็ว 8,650 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในส่วนของ Second Stage ยานอวกาศจะมีเครื่องยนต์จรวดทั้งหมด Raptor Engines ทั้งหมด 9 เครื่อง ตัวจรวดสูง 49.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 17 เมตรตามแผนการยานอวกาศถูกออกแบบให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100 คน

ภาพอธิบาย First Stage ของ ( Big Falcon Rocket )

spacex-interplanetary-transport-system-8

ภาพอธิบาย Second Stage ของ ( Big Falcon Rocket )

spacex-interplanetary-transport-system-5

ภาพการทดสอบเครื่องยนต์จรวดรุ่นใหม่ Raptor Engines

raptor-testing

ขั้นตอนการเดินทางไปดาวอังคารของจรวด ( Big Falcon Rocket )

การเดินทางไปดาวอังคารของจรวด Big Falcon Rocket จะใช้ยานอวกาศส่วน Second Stage ทั้งหมด 2 ลำ ยานลำแรกใช้บรรทุกนักบินและผู้โดยสาร ลำที่สองใช้ขนส่งเชื้อเพลงและทรัพยากรที่ใช้ดำรงชีวิต โดยยานลำแรกจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกก่อนจากนั้นจรวดส่วน First Stage จะเดินทางกลับโลกเพื่อเติมเชื้อเพลิงเพื่อให้พร้อมสำหรับการส่งยานอวกาศ Second Stage ลำที่สอง หลังจากยานอวกาศทั้งสองลำถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรก็จะทำการเชื่อมต่อกันเพื่อให้ยานอวกาศลำที่สองถ่ายเทเชื้อเพลิงและทรัพยากรให้กับยานอวกาศลำแรก หลังจากนั้นยานอวกาศลำที่สองจะเดินทางกลับโลก ส่วนยานอวกาศลำที่แรกเดินทางไปดาวอังคารไปพร้อมผู้โดยสาร

spacex-interplanetary-transport-system-3

ภาพจำลองการเชื่อมต่อของยานอวกาศส่วน Second Stage ทั้ง 2 ลำขณะโคจรรอบโลก

spacex-interplanetary-transport-system-all

ส่วนการเดินทางไปดาวอังคารยานอวกาศจะมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์กางออกมาทั้งสองด้านของยานสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 200 kw ใช้เวลาเดินทางประมาณ 90 – 140 วันขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างโลกกับดาวอังคาร เมื่อเดินทางถึงดาวอังคารยานอวกาศจะมีแผ่นกันความร้อนเพื่อป้องกันการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร พร้อมทั้งใช้จรวดผลักดันให้การลงจอดเป็นไปอย่างนิ่มนวล หลังจากนั้นจึงทำการเติมเชื้อเพลิงที่สร้างจากแหล่งพลังงานบนดาวอังคารเพื่อให้ยานสามารถเดินทางกลับโลกได้

ภาพจำลองรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกกางออกขณะยานอวกาศเดินทางไปดาวอังคาร

spacex-mars-all

ระบบขนส่งระหว่างดาวเคราะห์ ( Interplanetary Transport System ) อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศสมัยใหม่สามารถต่อยอดความสำเร็จจากดาวอังคารไปสำรวจดาวดวงอื่น ๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของบริษัท SpaceX ที่ยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ทุกอย่างมีลำดับขั้นตอนการพัฒนาส่วน เป้าหมายที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้คือ บริษัท SpaceX จะส่งยานอวกาศ Red Dragon ไปเยือนดาวอังคารในปี 2018 เพื่อเก็บตัวอย่างพื้นผิวดาวอังคารและเดินทางกลับโลก แนวคิดของ SpaceX มีความท้าทายและน่าสนใจเพราะบริษัทต้องการเปลี่ยนดาวอังคารให้เป็นโลกใบที่สองเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้อยู่อาศัยได้

ที่มาของข้อมูล
youtube.com/channel/spacex , nutn0n.com/mars , flickr.com/photos/spacex , spacex.com/mars

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation