ค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง Gravitational Waves ตามที่ปรากฏในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (CalTech), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT), และหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง Laser Interferometer Gravitational Wave Observatory (LIGO) ร่วมกันแถลงข่าวการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves) ตามที่ปรากฏในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ทฤษฎีคนสำคัญของโลกที่กล่าวเอาไว้ว่าแรงโน้มถ่วงเกิดจากมวลทำให้เกิดการบิดงอของกาลอวกาศ การพยายามตรวจสอบหาคลื่นความโน้มถ่วงในครั้งนี้ใช้เวลาค้นคว้าวิจัยพัฒนากว่า 40 ปี ผ่านการทดลองจนเกิดความมั่นใจและได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์

สิ่งที่นักวิทยาศาตร์ค้นพบเรียกว่าคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves) มีลักษณะเป็นระลอกคลื่่นเกิดจากการเคลื่อนตัวของวัตถุที่มีมวลต่างกันในอวกาศ เช่น หลุมดำ ดาวนิวตรอน ดาวขนาดต่าง ๆ การค้นพบในครั้งนี้คลื่นความโน้มถ่วงมีแหล่งกำเนิดจากการรวมตัวของหลุมดำ (Black Hole) 2 แห่งกลายเป็นหลุมดำขนาดใหญ่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,300 ล้านปีแสง โดยหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง LIGO จะมีเครื่องวัด 2 ชุดตั้งอยู่ที่ Hanford, Washington และ Livingston, Louisiana หอสังเกตการณ์ LIGO ประกอบด้วยกระจกบานใหญ่ 4 บานแขวนไว้กับที่ยึดด้านบนตรงส่วนปลายแขนของเครื่องมือสองแขนที่ตั้งฉากกันอยู่เป็นตัว L แขนแต่ละข้างยาวถึง 4 กิโลเมตร (ดูภาพประกอบด้านล่าง) วัดการสั่นของแสงเลเซอร์ที่ถูกยิงออกมาซึ่งจะสามารถวัดได้ว่าคลื่นความโน้มถ่วงเดินทางมาจากอวกาศจริงหรือไม่ผลการวัดค่าหลาย ๆ ครั้งพบว่าคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves) ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์นั้นมีอยู่จริงและสามารถวัดค่าได้

Laser Interferometer Gravitational Wave Observatory (LIGO)

ประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ คือ นักฟิสิกส์สามารถใช้ข้อมูลไปอธิบายปรากฏการณ์ของการหลอมรวมของดาวนิวตรอนและพฤติกรรมของหลุมดำ หัวหน้าห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ความโน้มถ่วงศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดองค์การนาซาอธิบายว่า “จักรวาลถูกขับเคลื่อนด้วยแรงโน้มถ่วงคลื่นนี้กระเพื่อมผ่านตัวเราอยู่ตลอดเวลา “ถ้าพบคลื่นความโน้มถ่วง เราจะสามารถอาศัยความโค้งของกาล-อวกาศมองย้อนไปจนถึง ณ เวลาหนึ่งในล้านล้านของวินาทีแรกที่เกิดการระเบิดบิกแบง (Big Bang) ช่วงเวลากำเนิดของจักรวาล” ส่วนความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจจุดกำเนิดของจักรวาล ยืนยันการมีอยู่จริงของหลุมดำ รวมถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่สร้างคลื่นความโน้มถ่วง Gravitational Waves เนื่องจากยังไม่มีทฤษฏีที่สามารถอธิบายเรื่องดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์

ที่มาของข้อมูล
jimmysoftwareblog.com , en.wikipedia.org , radio.wpsu.org , Jessada Denduangboripant

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *