New Horizons ยานอวกาศสำรวจดาวพลูโต ดาวบริวาร และแถบไคเปอร์
New Horizons (นิวฮอไรซันส์) เป็นยานสำรวจอวกาศที่ถูกส่งไปโคจรผ่านดาวพลูโต ดาวบริวาร และแถบไคเปอร์หรือบริเวณขอบนอกของระบบสุริยะจักรวาล ชื่อของยานแปลได้ตรงตัวว่า “ขอบฟ้าใหม่” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย New Frontiers 1 – 5
ภาพการปล่อยยานนิวฮอไรซันส์ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวต Atlas V
ยานนิวฮอไรซันส์มีลักษณะคล้ายกับดาวเทียมสำรวจอวกาศมีน้ำหนักประมาณ 478 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Atlas V 551 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006 ใช้เวลาเดินทางยาวนานกว่า 10 ปี ระยะทางกว่า 4,880 ล้านกิโลเมตร เข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุดคือ 07.49 น. ของวันที่ 14 ก.ค. 58 (ตามเวลาท้องถิ่น) หรือ 18.49 น. (ตามเวลาไทย) หลังจากยานนิวฮอไรซันส์ถ่ายภาพดาวพลูโตแล้วต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงข้อมูลทั้งหมดถึงจะส่งกลับมายังโลกได้เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกกับดาวพลูโตที่ไกลมากนั่นเอง
ตำแหน่งของดาวพลูโตในระบบสุริยะจักรวาลของเรา
ภาพจำลองเส้นทางที่ยาน New Horizons โคจรเข้าใกล้ดาวพลูโตและดาวบริวาร
ภาพดาวพลูโตที่ยานนิวฮอไรซันส์ส่งกลับมายังโลก
ทีมงานบนโลกแสดงความยินดีที่ภาระกิจสำเร็จ
ภาพเคลื่อนไหว Animation จำลองการโครจรผ่านดาวพลูโต
ดาวพลูโตเป็นดาวที่อยู่ไกลสุดของระบบสุริยะจักราลของเรา มีลักษณะที่เรียกว่าดาวเคราะห์แคระเนื่องจากขนาดของมันเล็กมาก มีมวลประมาณ 1 ใน 6 ของดวงจันทร์ ดาวพลูโตมีขนาดเล็กแต่มีดวงจันทร์บริวารถึง 5 ดวงประกอบด้วย ชาลอน (Charon) , นิคและไฮดรา (Nix and Hydra) , พีไฟฟ์ (P5) , พีโฟร์ (P4) หลังจากโครจรผ่านดาวพลูโตยานนิวฮอไรซันส์ จะโครจรผ่านดาวบริวารของดาวพลูโตจากนั้นจะเดินทางไปสู่ส่วนที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ ซึ่งเป็นบริเวณขอบนอกของระบบสุริยะจักรวาลเริ่มนับจากวัตถุที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูนไป ในพื้นที่ของแถบไคเปอร์ นอกจากดาวพลูโตแล้วยังมีดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวงเช่น อีริส (Eris) มาคีมาคี (Makemake) เซดนา (Sedna)
ที่มาของข้อมูล
nasa.gov , csirouniverseblog.com, www.nasa.gov/mission_pages/newhorizons