สัมภาษณ์พิเศษเอริค ชมิดท์ประธานบริหารบริษัท Google โดยสุทธิชัย หยุ่น ตอนที่ 1
วันนี้ผมขอนำเสนอบทสัมภาษณ์พิเศษเอริค ชมิดท์ประธานบริหารบริษัท Google ในงาน Big Tant Thailand 2013 ที่จัดโดย Google ประเทศไทยบทสัมภาษณ์นี้เคยออกอากาศทางช่องเนชั่นเเชนเเนลเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมาเนื่องจากผมมองเห็นว่ามีประเด็นน่าสนใจหลายอย่างเกี่ยวกับประเทศไทยที่เอริค ชมัดท์ได้ให้ความเห็นเอาไว้
ประวัติของ Google
Google ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 1998 หรือ 15 ปีที่แล้วโดยแลร์รี เพจและเซอร์เกย์ บรินทั้งคู่พบกันตอนกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านวิศวคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในสมัยเรียนพวกเขาได้สร้างเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลชื่อว่า BackRub เพื่อใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ ต่อมาได้ถูกพัฒนากลายเป็นเครื่องมือค้นหาที่ชื่อ Google กูเกิ้ลไม่เพียงแต่จะโด่งดังในฐานะเครื่องมือค้นหาที่ผู้คนทั่วโลกใช้กันอย่างแพร่หลายแต่ Google ยังมีบริการอื่น ๆ อีกเช่น Youtube, Gmail, Google Map และ Google Plus เป็นต้น
เอริค ชมิดท์ได้เข้าร่วมงานกับ Google ในปี 2001 โดยดูแลกลยุทธทางเทคนิคและกลยุทธทางธุรกิจของบริษัทเคียงข้างไปกับ 2 ผู้ก่อตั้งแลร์รี เพจและเซอร์เกย์ บริน เอริค ชมิดท์ดำรงตำแหน่งซีอีโอของ Google ตั้งแต่ปี 2001 ถึงปี 2010ก่อนลงจากตำแหน่งให้แลร์รี เพจ ซีอีโอคนปัจจุบันรับตำแหน่งซีอีโอแทน โดยเอริค ชมัดท์ขึ้นไปนั่งในตำแหน่งประธานบริหารจนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์ที่น่าสนใจของเอริค ชมิดท์ต่อประเทศไทย
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ประเทศไทยจะเติบโตได้รวดเร็วในอีกหลายปีข้างหน้า
- ประเทศไทยจะมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เร็วมากขึ้นเพราะการพัฒนาของ 3G และสมาร์ทโฟนถ้ารัฐบาลมีความมั่นคงเพียงพอ
- เทคโนโลยีการสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียนไทยอยู่ในลำดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซียแต่ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านความต้องการที่ซับซ้อนของผู้บริโภค
- สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำคือการปฏิวัติวงการโทรศัพท์มือถือ ระบบราชการจะต้องรวดเร็วมากขึ้น ส่งเสริมด้านการศึกษาด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์
- ภาษาอังกฤษสำคัญหากต้องการประสบความสำเร็จด้านซอฟต์แวร์
- เอริค ชมิดท์มองว่าแอพพลิเคชั่น line และ Wechat น่าจะเป็นตัวกลางหลักของการสื่อสารของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนของประเทสไทย
- เอริค สมิดท์คิดว่านโยบายแจกเเท๊บเล็ตให้กับนักเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการมองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงสื่อสาร เมืองไทยเป็นผู้นำด้านการใช้นโยบายนี้แต่ก็ยอมรับว่านโยบายนี้ดีสำหรับ Google เนื่องจากทำให้เด็ก ๆ รู้จัก Google มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการให้ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน สามารถคลิกชมได้จากลิงค์ด้านนี้ครับ
คลิปสัมภาษณ์พิเศษเอริค ชมิดท์ประธานบริหารบริษัท Google ตอนที่ 1
ที่มาของข้อมูล
Youtube.com/user/cheepajornloke