ปิดการใช้งานหอดูดาวอาเรซีโบ ประเทศเปอร์โตริโกหลังใช้งานนานกว่า 57 ปี
หอดูดาวอาเรซิโบ (Arecibo Observatory) จัดอยู่ในประเภทกล้องโทรทรรศ์วิทยุมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 305 เมตร นับเป็นกล้องโทรทรรศวิทยุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเปิดใช้งานครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1963 สถิตินี้อยู่จนกระทั่งกล้อง FAST หรือ Five-hundred-meter Aperture Spherical Telescope กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งใหม่ถูกสร้างที่ประเทศจีนในปี 2020
กล้องโทรทรรศ์วิทยุมีภารกิจทางดาราศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การค้นหาดาวเคราะห์น้อย การยืนยันตำแหน่งของดาวนิวตรอน การสำรวจพัลซาร์ในระบบดาวคู่ ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก รวมไปถึงการตรวจหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตต่างดาวในช่วงปี 1974 ได้ส่งสัญญาณวิทยุขนาด 205 ไบต์ออกไปยังอวกาศบริเวณกระจุกดาว M13 เพื่อสื่อความหมายถึงการการมีตัวตนของมนุษย์ ดีเอ็นเอ ระบบสุริยะเพื่อหวังว่าจะมีสิ่งมีชีวิตต่าวดาวสามารถรับสัญญาณนั้นได้
ในช่วงปลายปี 2020 ข่าวความเสียหายของหอดูดาวอาเรซิโบ (Arecibo Observatory) เกิดขึ้นท่ามกลางข่าวการระบาดของโรค COVID-19 ที่เริ่มต้นระบาดในประเทศจีนทำให้ข่าวความเสียหายของหอดูดาวไม่ได้รับความสนใจมากนักจนกระทั่งมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSF) ได้ออกมาประกาศยุติการใช้งานหอดูดาวอาเรซิโบลงเนื่องจากไม่สามารถซ่อมบำรุงรักษาต่อไปได้และจะมีการรื้อถอนกล้องโทรทรรศ์วิทยุนี้ออกจากสถานที่ตั้งเดิมเพื่อความปลอดภัย
หลังจากนี้กล้องโทรทรรศ์วิทยุ FAST ในตอนใต้ของประเทศจีนจะกลายเป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลกทำหน้าที่ตรวจสอบและรับสัญญาณจากอวกาศ กล้องตัวนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง การก่อสร้างต้องย้ายหมู่บ้านแห่งหนึ่งออกจากหุบเขา ในอนาคตประเทศจีนจะมีบทบาทในการสำรวจอวกาศจากล้องโทรทรรศ์วิทยุบนพื้นโลกมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับกล้องโทรทรรศ์วิทยุอื่น ๆ บนโลกในหลายประเทศ
คลิปวิดีโอบางส่วนของหอดูดาวอาเรซิโบ (Arecibo Observatory)
2018-REU Testimonies: Brandon SmithCheck out this testimony video from one of our 2018 REU students. Don't miss the chance for this unique research experience. You have until Feb 1st to complete your application. Apply now –> [www.AreciboObservatory.org/reut] #REU #NSF #UAGM #AreciboObservatory
Posted by The Arecibo Observatory on Tuesday, January 22, 2019
ที่มาของข้อมูล
Arecibo Observatory
Five-hundred-meter Aperture Spherical Telescope