ภาพถ่ายหลุมดำภาพแรกในประวัติศาสตร์จากกล้อง Event Horizon Telescope
กล้องโทรทรรศน์อีเว้นท์ ฮอไรซอน (Event Horizon Telescope) เปิดเผยภาพหลุมดำครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับจากการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลุมดำของ ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ในปี ค.ศ. 1796 รวมไปถึงการอธิบายทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี ค.ศ. 1915 โดยภาพหลุมดำที่เห็นจากสื่อต่าง ๆ ก่อนหน้านี้เกิดจากคอมพิวเตอร์กราฟิกส์จำลองสร้างขึ้นมาไม่ใช่ภาพหลุดดำจริง ๆ ที่อยู่ในอวกาศ
หลุมดำคืออะไร
หลุมดำเป็นเทวหวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงสูงในจักรวาล ส่วนประกอบของหลุมดำแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ บริเวณใจกลางของหลุมดำ “ขอบฟ้าเหตุการณ์” (Event Horizon) บริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงของหลุมดำมากจนสามารถดูแสงเอาไว้ทำให้ไม่สามารถมองเห็นหลุมดำ บริเวณภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง บริเวณทรงกลมโฟตอน บริเวณเออร์โกสเฟียร์ และรังสีฮอว์คิง
กล้องโทรทรรศน์อีเว้นท์ ฮอไรซอน (Event Horizon Telescope)
กล้องโทรทรรศน์อีเว้นท์ ฮอไรซอน (Event Horizon Telescope หรือ EHT) ใช้วิธีการรวมสัญญาณภาพที่ได้บันทึกได้จากกล้องกล้องโทรทรรศน์ 8 ตัวที่ติดตั้งไว้ในรัฐอริโซ่า , รัฐฮาวาย , ประเทศเม็กซิโก , ประเทศชิลี , ขั้วโลกใต้ และประเทศสเปน นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับประเทศในทวีปเอเชีย East Asian Observatory (EAO) ประกอบไปด้วยจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม ไทย มาเลเซีย อินเดีย และอินโดนีเซีย
กล้องโทรทรรศน์อีเว้นท์ ฮอไรซอนใช้วิธีการถ่ายภาพเรียกว่า Very-Long-Baseline Interferometry หรือ VLBI การเปรียบเทียบปริมาณแสงจากกล้องโทรทรรศน์ในตำแหน่งที่ต่างกัน ภาพถ่ายมีความละเอียดระดับ 20 micro-arcseconds การส่งข้อมูลระหว่างกล้องตามจุดต่าง ๆ มีปริมาณมากจนไม่สามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตปกติส่งได้ จึงใช้บันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสและส่งมายังซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเป็นภาพหลุมดำภาพแรกในประวัติศาสตร์
ภาพหลุมดำใจกลางกาแลคซี่ Messier 87
การถ่ายภาพหลุมดำเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากหลุมดำที่สามารถได้จะต้องมีขนาดใหญ่ประเภท “หลุมดำมวลยิ่งยวด” (Supermassive Black Hole หรือ SMBH) ซึ่งหลุมดำที่ถูกถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อีเว้นท์ ฮอไรซอนถ่ายภาพได้ในครั้งเป็นหลุมดำบริเวณใจกลางกาแลคซี่ Messier 87 หรือ M87 หลุมดำแห่งนี้หมุนตามเข้มนาฬิกาในลักษณะหันด้านข้างให้กับโลก สามารถมองเห็นบริเวณใจกลางของหลุมดำ “ขอบฟ้าเหตุการณ์” (Event Horizon) หลุมดำมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6.5 พันล้านเท่า ตำแหน่งมีระยะห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง
การถ่ายภาพหลุมดำใจกลางกาแลคซี่ Messier 87 สำเร็จในครั้งนี้สามารถยืนยันความถูกต้องของทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี ค.ศ. 1915 ได้อย่างแม่นยำและยังเป็นก้าวสำคัญในการสำรวจอวกาศของมนุษย์ที่กำลังพยายามไขความลับของจักรวาล เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดกำเนิดของจักรวาล
คลิปวิดีโอถ่ายทอดสดภาพถ่ายหลุมดำจาก Spaceth.co
คลิปวิดีโอจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ที่มาของข้อมูล
Harvard University : Seeing the unseeable
ถ่ายทอดสดภาพถ่ายหลุมดำจาก Spaceth.co
มติพล ตั้งมติธรรม ภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำ โดย EHT
Astronomers Capture First Image of a Black Hole