#10Yearschallenge จรวด Falcon 1 สู่จรวดทรงพลัง Falcon Heavy
จากกระแสฮิต 10Yearschallenge เปรียบเทียมความเปลี่ยนแปลงในเวลา 10 เริ่มจากปี 2009 ถึงปี 2019 อยากนำเสนอการพัฒนาจรวดของบริษัท SpaceX ที่เริ่มต้นจากจรวด Falcon 1 สู่จรวดที่สามารถส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศได้คือ จรวด Falcon Heavy
วันที่ 14 กรกฏาคม 2009 จรวด Falcon 1 ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม RazakSAT ของประเทศมาเลเซียขึ้นสู่วงโคจรของโลก จากฐานปล่อยจรวดบนเกาะ Omelek สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ โดยเป็นการทำภารกิจครั้งที่ 5 ของจรวด Falcon 1 หลังภารกิจครั้งที่ 1 – 3 ประสบความล้มเลว ส่วนภารกิจครั้งที่ 4 ประสบความสำเร็จ
จรวด Falcon 1 มีความสูงประมาณ 21.2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.7 เมตร สามารถขนส่งดาวเทียมน้ำหนักตั้งแต่ 180-430 กิโลกรัม จัดเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวแบ่งการทำงานของจรวดออกเป็น 2 ช่วง จรวดผลักดันช่วงแรกใช้เครื่องยนต์จรวด Merlin จรวดผลักดันช่วงที่สองใช้เครื่องยนต์จรวด Kestrel
จรวด Falcon Heavy มีกำหนดการทำภารกิจครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมีนาคม 2019 โดยจะเป็นการขนส่งดาวเทียม Arabsat-6A ขึ้นสู่วงโคจรของโลก จากฐานปล่อยจรวด LC-39A ศูนย์อวกาศเคนเนดี ก่อนหน้านี้ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2018 จรวด Falcon Heavy ประสบความสำเร็จในการส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla Roadster ส่วนตัวของอีลอน มัสก์ผู้ก่อตั้งบริษท SpaceX เดินทางไปดาวอังคาร
จรวด Falcon Heavy จรวดที่ทรงพลังมากที่สุดในโลกในขณะนี้การทำงานของใช้จรวดผลักดัน Falcon 9 จำนวน 3 ลำมาทำงานร่วมกัน จรวดมีความสูงประมาณ 70 เมตร จรวด 3 ลำกว้างรวมกัน 12.2 เมตร สามารถขนส่งดาวเทียมน้ำหนักตั้งแต่ 3,500-63,800 กิโลกรัม จัดเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว จรวดผลักดันช่วงแรกใช้เครื่องยนต์จรวด 9 Merlin 1D จรวดผลักดันช่วงที่สองใช้เครื่องยนต์ Merlin 1D Vacuum
ที่มาของข้อมูล
Falcon Heavy is the most powerful operational rocket in the world