อินโดนีเซียเตรียมส่งจรวดบรรทุกดาวเทียมน้ำหนัก 1 ตันขึ้นสู่อวกาศในปี 2040

สถาบันการบินและอวกาศแห่งชาติอินโดนีเซียหรือ LAPAN ประกาศแผนการส่งจรวดขึ้นสู่วงโคจรของโลกในปี 2040 จรวดถูกพัฒนาขึ้นในประเทศอินโดนีเซียมีขีดความสามารถบรรทุกดาวเทียมน้ำหนัก 1 ตันขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก LEO (Low Earth Orbit) โดยจะลงทุนสร้างศูนย์อวกาศและฐานปล่อยจรวดบนเกาะไบแอ็ก (Biak Island) ใกล้ประเทศปาปัวนิวกินีและบนเกาะโมโรไท (Morotai Island)

โครงการอวกาศของอินโดนีเซีย

โครงการอวกาศของอินโดนีเซียก่อตั้งในปี 1963 มีเป้าหมายเพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศของประเทศอินโดนีเซีย การวิจัยพัฒนาจรวดเครื่องยนต์จรวดระบบขับเคลื่อนจรวดจะใช้วิธีวิจัยพัฒนาในประเทศอินโดนีเซียทั้งหมดแบ่งขั้นตอนการวิจัยพัฒนาออกเป็น 4 เฟสด้วยกัน

เฟส 1 ได้เริ่มต้นมาได้ระยะหนึ่งแล้วมีเป้าหมายพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงแข็งเพื่อส่งอุปกรณ์น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นสู่อวกาศระดับความสูง 300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก จรวดแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันมีกำหนดการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศในปี 2019-2020

เฟสที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจรวดที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัมขึ้นสู่อวกาศระดับความสูง 300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีจากเฟสที่ 1 และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของจรวดอื่น ๆ

เฟสที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลวทำงานร่วมกับจรวดเชื้อเพลงแข็งสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัมขึ้นสู่อวกาศระดับความสูง 600 กิโลเมตรในระดับความสูงเดียวกับวงโคจรต่ำของโลก LEO (Low Earth Orbit) โครงการในเฟสที่ 2-3 มีกำหนดการทดสอบอยู่ในช่วงปี 2020-2029

เฟสที่ 4 เป้าหมายสูงสุด คือ การส่งดาวเทียวขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก LEO (Low Earth Orbit) โคจรรอบโลกพร้อมกับการสร้างศูนย์อวกาศและฐานปล่อยจรวดเสร็จสมบูรณ์มีกำหนดการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศในปี 2039-2040 และพร้อมต่อยอดนำอินโนเซียเข้าร่วมในยุคการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอวกาศยุคใหม่อย่างเต็มตัว

จรวดที่พัฒนาโดยประเทศอินโดนีเซีย

โครงการวิจัยพัฒนาด้านอวกาศของอินโดนีเซียมีความคืบหน้าไปพอสมควรปัจจุบันอินโนนีเซียประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดขนาดเล็กที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและการวิจัยพัฒนาจรวดเชื้อเพลิงเหลว ตัวอย่างจรวดขนาดเล็กที่อินโดนีเซียพัฒนาสำเร็จ เช่น RX-250 ทดสอบเมื่อปี 2007 สามารถทะยานขึ้นไปที่ระดับความสูง 53 กิโลเมตร จรวด RX 420 จรวดเชื้อเพลิงแข็งที่ใช้จรวดรุ่น RX 320 จำนวน 3 ท่อนมาทำงานร่วมกันจรวดรุ่น RX 420 มีน้ำหนักรวมประมาณ 2 ตันสามารถขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กนาโน แซทเทิลไลท์ (Nano Satellite) น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจร นอกจากนี้อินโนนีเซียยังกำลังพัฒนาเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงเหลว Liquid Rocket RCX 100H2 เพื่อใช้งานกับจรวดรุ่นใหม่ในอนาคต

ตำแหน่งของประเทศอินโดนีเซียเหมาะสำหรับการปล่อยจรวด

ตำแหน่งของประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร (Equator) จีงเหมาะสำหรับการใช้เป็นฐานปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้จรวดเดินทางเข้าสู่วงโคจรได้ง่ายกว่าการปล่อยจรวดในพื้นที่อื่นรวมไปถึงการลดต้นทุนเชื้อเพลิงจรวด

สถานที่ปล่อยจรวดที่พยายามสร้างในตำแหน่งที่ใกล้เส้นศูนย์ศูตรให้มากที่สุด เช่น ศูนย์อวกาศเคนเนดี (John F. Kennedy Space Center) ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมคาวาเนรัลทางใต้สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์ส่งดาวเทียมเหวินชาง (Wenchang Spacecraft Launch Site) ตั้งอยู่ในมลฑลไหหลําหรือเกาะไหหลำทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากสถานที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตรแล้วยังต้องมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ศูนย์อวกาศจะต้องห่างไกลจากชุมชนเพื่อการรบกวนชุมชนเมื่อมีการทดสอบจรวดหรือปล่อยจรวดซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนกระจายในวงกว้าง

บทวิเคราะห์จาก Nextwider

อินโดนีเซียกำลังก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านอวกาศยุคใหม่ภายใต้การสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลโดยมีสถาบันการบินและอวกาศแห่งชาติอินโดนีเซียหรือ LAPAN รับผิดชอบเป็นหัวหอกในการทำโครงการอวกาศ นอกจากพัฒนาจรวดของตัวเองยังมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ส่งโครงการจรวดเข้าร่วมแข่งขันประจำปี Rocket Payload Compettion ประจำปี ซึ่งถือเป็นการวางพื้นฐานการพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศที่สำคัญในอนาคต

ที่มาของข้อมูล
Indonesia’s space agency LAPAN
Indonesia aims to launch an indigenous orbital rocket by 2040
Indonesian Rocket Could Launch Own Satellites 2040
LAPAN and Indonesian Rocket Program
Indonesian National Institute of Aeronautics and Space
One Step to LAPAN Satellite Launch Vehicle Realization
ILOA Galaxy Forum SEA Indonesia — Djamaluddi
Space science , Technology , Application and policy studies in Indonesia
Sounding Rocket RCX1H-1

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation