จรวด New Shepard นำการทดลองจากประเทศไทยขึ้นสู่อวกาศ

จรวด New Shepard ประสบความสำเร็จในการนำอุปกรณ์การทดลองทุเรียน ข้าวสาร จากประเทศไทยขึ้นสู่อวกาศที่ระดับความสูง 119 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกเป็นเวลาประมาณ​ 5 นาที น้ำหนักของอุปกรณ์และอาหารทั้งหมดมีน้ำหนักโดยรวม 6 กิโลกรัม จะประกอบไปด้วยสิ่งของทดลองทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยหลากหลายชิ้นจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย เช่น

  • อุปกรณ์ห้ามเลือดสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ส่งอุปกรณ์ที่ทางสถาบันฯ พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ป้องกันกรณีเลือดออกรุนแรง โดยทางสถาบันฯ ต้องการทดสอบคุณภาพของอุปกรณ์นี้หลังจากที่อุปกรณ์นี้เจอกับสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity) ในอวกาศ
  • Carbon Nanotube จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการศึกษาว่า อวกาศจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อสภาพโครงสร้างและคุณลักษณะทางไฟฟ้าของ Carbon Nanotube ซึ่งเป็นวัตถุที่ถือว่ามีความแข็งแรงกว่าเหล็กถึง 100 เท่า
  • ข้าวสารและทุเรียน เพื่อทดลองการเปลี่ยนแปลงของอาหารในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำจะส่งผลกระทบต่อกลิ่น รสชาติ และเนื้อของอาหารอย่างไรบ้าง โดยทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย จะใช้การทดลองนี้เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดทำอาหารสำหรับไว้ใช้บริโภคในอวกาศ
  • ชิ้นส่วนต้นแบบชุดอวกาศที่พัฒนาโดยบริษัท muSpace
  • ชุดเครื่องมือทดสอบก๊าซและเครื่องมือตรวจจับอนุภาคของ Micro-Color ในภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำที่พัฒนาโดย Freak Lab

เจมส์ เย็นบำรุง ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท muSpace กล่าวว่า

“ทางเรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่จะได้มีส่วนร่วมกับทาง Blue Origin ในการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศในครั้งนี้ ซึ่งทางเราต้องการเรียนรู้เช่นกันว่าสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อโครงสร้างและสภาพของสิ่งต่างๆ และเราหวังว่าการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศในครั้งนี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้มากขึ้น”

“สิ่งของบรรทุกนี้จะถูกส่งขึ้นไปสูงถึง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งเมื่ออยู่ในอวกาศแล้ว สิ่งของ เหล่านี้จะเจอกับสภาวะแรงโน้มถ่วงที่น้อยลงหรือสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”

การส่งจรวด New Shepard ถือเป็นการส่งจรวดครั้งที่ 9 ของบริษัท Blue Origin ซึ่งจรวดรุ่นนี้ถูกออกแบบให้ใช้สำหรับขนส่งนักท่องเที่ยวให้ขึ้นไปสัมผัสกับอวกาศประมาณ 5 นาทีก่อนเดินทางกลับโลก อย่างไรก็ตามบริษัท Blue Origin ยังมีแผนการพัฒนาจรวดขนาดใหญ่ชื่อว่าจรวด New Glenn ซึ่งอยู่ในระหว่างการวิจัยพัฒนาและจะทดสอบส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2020

คลิปการส่งจรวด New Shepard บรรทุกการทดลองจากประเทศไทย

คลิปการส่งจรวด New Shepard ครั้งก่อนหน้านี้ 12 ตุลาคม 2560

ที่มาของข้อมูล
muspacecorp.com

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *