NASA กำลังพัฒนาแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep สำหรับนักบินอวกาศ

NASA กำลังวิจัยพัฒนาแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep สำหรับให้นักบินอวกาศนอนหลับเป็นเวลาหลายสัปดาห์เพื่อปฏิบัติภารกิจในอวกาศห้วงลึกที่ใช้เวลาเดินทางยาวนาน เช่น ภารกิจเดินทางไปดาวอังคารที่อาจใช้เวลามากถึง 6 เดือน NASA มอบหมายให้ทีมพิเศษ SpaceWorks วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep

SpaceWorks ทีมงานพัฒนาแคปซูลไครโอสลีฟ Cryosleep

SpaceWorks มีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีแคปซูลสำหรับให้นักบินอวกาศนอนหลับเป็นเวลานานแบบไครโอสลีฟ (Cryosleep) โดยทำให้ร่างกายของนักบินอวกาศเข้าสู่ภาวะ Hypothermia เทียมเพื่อลดการใช้พลังงานทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพที่นักบินอวกาศต้องบรรทุกไปกับยานอวกาศ โดยในขณะที่นักบินอวกาศอยู่ในแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ (Cryosleep) จะได้รับการดูแลทางการแพทย์ด้วยหุ่นยนต์

สภาวะ Hypothermia เทียม

สภาวะ Hypothermia เทียม คือ การทำให้ร่างกายนักบินอวกาศมีอุณหภูมิค่อย ๆ ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียสอย่างช้า ๆ จนเข้าสู่สภาพวะ Hypothermia เทียมอย่างปลอดภัยภายในได้การดูแลควบคุมทางการแพทย์ด้วยวิธี Total Parenteral Nutrition (TPN) เพื่อป้องกันความเสียหายของเซลล์ร่างกายจากการขาดออกซิเจนและส่งสารอาหารเข้าสู่ร่างกายนักบินอวกาศรวมไปถึงขับถ่ายของเสียที่เกิดขึ้นในรางกาย ตลอดระยะเวลาการเดินทางที่ยาวนานในอวกาศห้วงลึก

ปลุกนักบินอวกาศด้วยเทคนิค Therapeutic Hypothermia (TH)

Therapeutic Hypothermia (TH) เป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยจากสภาวะที่เซลล์สมองได้รับความเสียหายเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นชั่วคราว เทคนิคนี้สามารถซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ด้วยแผ่นไฮโดรเจน วิธีการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการแพทย์เคยถูกใช้รักษามีชาเอล ชูมาเคอร์นักแข่งรถ F-1 มาแล้วในปี 2013

แคปซูลไครโอสลีฟ Cryosleep ตามแนวคิดของ SpaceWorks

แคปซูลแข่แข็งนักบินอวกาศตามแนวคิดของ SpaceWorks ถูกบรรทุกโดยโมดูลโดยสารที่มีลักษณะคล้ายโมดูลของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS จำนวน 2 โมดูลเชื่อมต่อกันสามารถรองรับนักบินอวกาศได้ประมาณ 4-6 คน ขึ้นอยู่กับภารกิจ แคปซูลสามารถรองรับการทำภารกิจในอวกาศได้ยาวนาน 180-500 วัน โมดูลโดยสารถูกออกแบบให้ใช้งานในอวกาศไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศเพื่อกลับโลกได้นักบินต้องย้ายไปยังยานอวกาศลำอื่นเพื่อเดินทางกลับผิวโลก

หุ่นยนต์ Neuromuscular Electrical Stimulation (NMES) จะทำหน้าที่เป็นแพทย์คอยช่วยเหลือนักบินอวกาศขณะหลับแบบไครโอสลีฟ (Cryosleep) อยู่ในแคปซูล โดยหุ่นยนต์จะทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ เช่น ระบบระบายความร้อนรวมไปถึงเซนเซอร์ตรวจสอบการทำงานของร่างกายนักบินอวกาศ

ภาพจำลองแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep ที่มาของภาพ nasa.gov
ภาพจำลองแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep ที่มาของภาพ nasa.gov

เทคโนโลยีแคปซูลไครโอสลีฟ Cryosleep ยังไม่พร้อมใช้งานแต่ขอเวลาอีกไม่นาน

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีแคปซูลนอนหลับในอุณหภูมิต่ำไครโอสลีฟ Cryosleep ยังอยู่ในขั้นของการวิจัยพัฒนาซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายปีถึงจะสามารถนำมาใช้ในภารกิจสำรวจอวกาศห้วงลึกได้จริง นอกจากความท้ายด้านการประหยัดทรัพยากรด้านการดำรงชีพในอวกาศแล้วการสำรวจอวกาศห้วงลึกยังต้องพบปัญหาแรงโน้มถ่วงซึ่งอาจทำให้ร่างกายนักบินอวกาศอ่อนแอลง ดังนั้นอาจต้องพัฒนาเทคโนโลยีสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมขึ้นมาใช้งานยานอวกาศควบคู่ไปด้วย นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ยุคใหม่ของการสำรวจและการอพยพได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ที่มาของข้อมูล
syfy.com, nasa.gov, thaiheart.org

Peerapat Chuejeen

Name : Peerapat Chuejeen "M" Tel : 086-5930737 E-mail : maspirecreation@gmail.com Facebook : www.facebook.com/peerapat.chuejeen Twitter : https://twitter.com/aspirecreation