สตีเฟน ฮอว์คิงนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดังเสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 76 ปี
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดังเสียชีวิตด้วยวัย 76 ปีที่บ้านพักของตัวเองในช่วงเช้าวันที่ 14 มีนาคม หลังป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) ตั้งแต่ช่วงปี 1960 แม้จะเผชิญกับโรคที่ทำให้ชีวิตเขาต้องได้รับความลำบากแต่สตีเฟน ฮอว์คิงก็ได้รับการยกย่องในฐานนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดังคนหนึ่งของโลก
ประวัติของศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงหรือสตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen William Hawking) เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 เป็นชาวอังกฤษ บิดาทำงานในสถาบันวิจัยทางการแพทย์ สตีเฟน ฮอว์คิงมีนิสัยชอบอ่านหนังสือตั้งแต่วัยเด็กแม้แต่ตอนกินข้าวก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านพร้อมกันไปด้วยและมีความสนใจดาราศาสตร์การมองดูดาวบนท้องฟ้าตั้งแต่เด็กโดยใช้สวนหลังบ้านเป็นฐานปฏิบัติการสำรวจเล็ก ๆ
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงจบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เกียรตินิยมอันดับ 1 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้านจักรวาลวิทยาและจบการศึกษาปริญญาเอกที่นี่ สตีเฟน ฮอว์คิงแต่งงานกับภรรยาเจน ฮอว์คิง ในปี 1965 และใช้ชีวิตคู่ร่วมกันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ผลงานของศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงก็ได้รับการยกย่องในฐานนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดังคนหนึ่งของโลก รวมไปถึงมีผลงานเขียนหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องและมียอดขายรวมกันหลายสิบล้านเล่ม
ในปี 1970 ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงได้อธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ จุดกำเนิดของจักรวาลเริ่มต้นจากภาวะซิงกูลาริตี้ (Singularity) และ การระเบิดของบิ๊กแบง (Big Bang)
ในปี 1974 ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตยสถานของประเทศอังกฤษและตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วงของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และเขาได้เสนอทฤษฏีการปล่อยรังสีของหลุมดำหรือทฤษฏีรังสีฮอว์กิ้ง (Hawking radiation)
ในปี 1979 ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” ตำแหน่งพิเศษที่มองให้ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ของอังกฤษ สตีเฟน ฮอว์คิง ถือเป็นคนที่ 2 ต่อจากเซอร์ไอแซก นิวตันนักฟิสิกส์ผู้เสนอกฎแรงโน้มถ่วงสากล และ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันที่ได้รับตำแหน่งนี้
ในปี 1988 ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงเขียนหนังสือเรื่องประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่า 10 ล้านเล่ม
ในปี 2001 ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงเขียนหนังสือเรื่องจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) อธิบายรูปร่างของเวลาและประวัติศาสตร์ย่อของสัมพัทธภาพ
The Theory of Everything ภาพยนตร์ชีวประวัติของศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง
การสูญเสียศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงนับเป็นความสูญเสียบุคคลทรงคุณค่าด้านฟิสิกส์ จักรวาลวิทยาที่สำคัญของโลก เขาคือตัวอย่างบุคคลที่ไม่ยอมแพ้และพยายามทำงานที่ตัวเองรักจนประสบความสำเร็จ นอกจากผลงานทฤษฎีวิทยาศาสตร์และผลงานเขียนหนังสือ ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิงยังเคยแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจส่งทั้งด้านบวกและด้านลบต่อมนุษยชาติ
ที่มาของข้อมูล
bbc.com